ออกแบบประตูเหล็กทนไฟอย่างไรดี ให้ถูกต้องตามกฏหมาย

อุบัติเหตุไฟไหม้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครควรมองข้าม ดังนั้นทางหนีไฟจึงมีความสำคัญกับการก่อสร้างตึกหรืออาคารในทุกกรณี เพื่อให้ทางหนีไฟเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงมีการออกข้อกำหนดที่ทุกอาคารต้องปฏิบัติตาม

ข้อกำหนดเหล่านี้รวมถึงประตูเหล็กทนไฟที่มีการกำหนดในข้อกฎหมาย ถึงแม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ก็มีความสำคัญในการสร้างทางหนีไฟที่ปลอดภัย โดยการ "ออกแบบ" หรือ "กำหนดมาตรฐานประตูทนไฟ" สำหรับอาคารนั้น ๆ เพื่อให้ตรงตามข้อกำหนด มีดังนี้:

1. ประตูเหล็กสำหรับทางหนีไฟต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

2. อุปกรณ์ต้องเป็นชนิดที่บังคับให้บานสามารถปิดได้เอง โดยทั่วไปจะใช้อุปกรณ์เปิด-ปิดเป็นคานผลัก (Panic Bar) และโช๊คอัพชนิดไม่ตั้งค้าง (หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นตัวบังคับให้บานประตูปิดเอง)

3. ขนาดบานประตูต้องกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. และสูงไม่น้อยกว่า 190 ซม.

4. แม้ในกฏกระทรวงการควบคุมอาคารจะระบุว่าประตูเข้าบันไดหนีไฟต้องไม่มีชั้นหรือธรณีประตูหรือขอบกั้น แต่การผลิตประตูเหล็กทนไฟที่มีธรณีที่พื้นยังคงจำเป็น เพราะมาตรฐาน มอก. 1220-2541 ระบุว่า ‘ธรณีประตูต้องสูงจากพื้นไม่เกิน 20 มม. และมีความลาดเอียง’

5. ยางกันควันซีลโดยรอบวงกบรวมถึงธรณีสเตนเลส แม้จะไม่ได้ถูกระบุในกฏกระทรวง แต่ยางกันควันถือเป็นจุดสำคัญที่ช่วยปิดช่องว่างระหว่างประตูกับวงกบ เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้าไปในทางหนีไฟ

ที่มา: กฏกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร (ประกาศจากกทม. พ.ศ. 2531), มอก. 1220-2541